เมนู

กาลกิริยาของพระเจ้าจักรพรรดิ การทำความเดือดร้อนตามแก่
เทวดาและมนุษย์ในหนึ่งจักรวาล. กาลกิริยาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
กระทำความเดือดร้อนตามแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายในหมื่นจักรวาล
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า กระทำความเดือดร้อนตามแก่ขนมาก ดังนี้.

จบ อรรถกถาสูตรที่ 4

อรรถกถาสูตรที่ 5



ในสูตรที่ 5 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อทุติโย ความว่า ที่ชื่อว่า อทุติโย เพราะไม่มีพระพุทธเจ้า
องค์ที่ 2. จริงอยู่พระพุทธะ. มี 4 คือ สุตพุทธะ จตุสัจจพุทธะ
ปัจเจกพุทธะ สัพพัญญูพุทธะ.
ในพุทธะ 4 นั้น ภิกษุผู้เป็นพหูสูต
(มีพุทธพจน์อันสดับแล้วมาก) ชื่อว่า สุตพุทธะ. ภิกษุผู้เป็นพระขีณาสพ
(นี้อาสวะสิ้นแล้ว) ชื่อว่า จตุสัจจพุทธะ. พระองค์ผู้บำเพ็ญบารมี
สองอสงไขย กำไรแสนกัป แล้วแทงตลอดปัจเจกพุทธญาณ ชื่อว่า
ปัจเจกพุทธะ. พระองค์ผู้บำเพ็ญบารมี 4-8-16 อสงไขย กำไร
แสนกัป แล้วย่ำยีกระหม่อมแห่งมารทั้ง 3 แทงตลอดพระสัพพัญญุต-
ญาณ ชื่อว่า สัพพัญญูพุทธะ. ในพุทธะ 4 เหล่านี้ พระสัพพัญญูพุทธะ
ชื่อว่า ไม่มีพระองค์ที่ 2 ธรรมดาว่าพระสัพพัญญูพุทธะพระองค์อื่น
จะเสด็จอุบัติร่วมกับพระสัพพัญญูพุทธะพระองค์นั้นก็หาไม่.

บทว่า อสหาโย ความว่า ชื่อว่าไม่มีสหาย เพราะท่านไม่มี
สหายผู้เช่นกับด้วยอัตภาพ หรือด้วยธรรมที่ทรงแทงตลอดแล้ว.
ก็พระเสขะและพระอเสขะ ชื่อว่า เป็นสหายขอพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
โดยปริยายนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงได้เสกขปฎิปทา และ
อเสกขปฏิปทาเป็นสหายแล.

บทว่า อปฺปฎิโม (ไม่มีผู้เปรียบ) ความว่า อัตภาพเรียกว่า
รูปเปรียบ. ชื่อว่าไม่มีผู้เปรียบ เพราะรูปเปรียบอื่นเช่นกับอัตภาพ
ของท่านไม่มี. อีกอย่างหนึ่ง มนุษย์ทั้งหลายกระทำรูปเปรียบใด
ล้วนแล้วด้วยทองและเงินเป็นต้น ในบรรดารูปเปรียบเหล่านั้น ชื่อว่า
ผู้สามารถกระทำโอกาสแม้สักเท่าปลายขนทรายให้เหมือนอัตภาพของ
พระตถาคต ย่อมไม่มี เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าไม่มีผู้เปรียบแม้โดย
ประการทั้งปวง. บทว่า อปฺปฎิสโม (ไม่มีผู้เทียบ) ความว่า ชื่อว่า
ไม่มีผู้เทียบ เพราะใคร ๆ ชื่อว่าผู้จะเทียบกับอัตภาพของพระตถาคต
นั้นไม่มี.

บทว่า อปฺปฏิภาโค (ไม่มีผู้เทียม) ความว่า ชื่อว่าไม่มีผู้เทียม
เพราะธรรมเหล่าใดอันพระตถาคตทรงแสดงไว้โดยนัยมีอาทิว่า
สติปัฏฐานมี 4 ขึ้นชื่อว่าผู้สามารถเพื่อจะทำเทียมในธรรมเหล่านั้น
โดยนัยมีอาทิว่า น จตฺตาโร สติปฏฺฐานา ตโย วา ปญฺจ วา (สติปัฏฐาน
ไม่ใช่ 4 สติปัฏฐานมี 3 หรือ 5.) บทว่า อปฺปฏิปุคฺคโล (ไม่มีบุคคล
ผู้แข็ง) ความว่า ชื่อว่าไม่มีบุคคลผู้แข่ง เพราะไม่มีบุคคลอื่นไร ๆ
ชื่อว่าสามารถเพื่อให้ปฏิญญาอย่างนี้ว่า เราเป็นพระพุทธเจ้า ดังนี้.

บทว่า อสโม (ไม่มีผู้เสมอ) ความว่า ชื่อว่า ผู้ไม่เสมอด้วย
สัตว์ทั้งปวง เพราะไม่มีบุคคลเทียมนั่นเอง. บทว่า อสมสโม (ผู้เสมอ
กันบุคคลผู้ไม่มีใครเสมอ) ความว่า พระสัพพัญญูพุทธเจ้าทั้งหลาย
ที่เป็นอดีตและอนาคต ท่านเรียกว่า ไม่มีผู้เสมอ ผู้เสมอด้วยพระ
สัพพัญญูพุทธเจ้า ผู้ไม่มีใคร ๆ เสมอเหล่านั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ผู้เสมอกับบุคคลผู้ไม่มีใครเสมอ.
บทว่า ทฺวิปทานํ อคฺโค ความว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็น
ยอดของเหล่าสัตว์ผู้ไม่มีเท้า มี 2 เท้า มี 4 เท้า มีเท้ามาก สัตว์ผู้มีรูป
ไม่มีรูป ผู้มีสัญญา ไม่มีสัญญา มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่.
เพราะเหตุไร ในที่นี้ ท่านจึงกล่าวว่า เป็นยอดของเหล่าสัตว์ 2 เท้า ?
เพราะเนื่องด้วยพระองค์เป็นผู้ประเสริฐกว่า. จริงอยู่ ธรรมดาว่า
ท่านผู้ประเสริฐ เมื่อจะอุบัติในโลกนี้ หาอุบัติในสัตว์ไม่มีเท้า มี 4 เท้า
และมีเท้ามากไม่ ย่อมอุบัติเฉพาะในสัตว์ 2 เท้าเท่านั้น. ในสัตว์ 2 เท้า
ชนิดไหน ? ในมนุษย์ และเทวดาทั้งหลาย. ก็เมื่อเสด็จอุบัติในหมู่
มนุษย์ ย่อมอุบัติเป็นพระพุทธเจ้า ผู้สามารถเพื่อทำสามพันโลกธาตุ
และหลายพันโลกธาตุ ให้อยู่ในอำนาจได้. เมื่ออุบัติในหมู่เทวดา
ย่อมอุบัติเป็นท้าวมหาพรหม ผู้ทำหมื่นโลกธาตุให้อยู่ในอำนาจได้
ท้าวมหาพรหมนั้น พร้อมที่จะเป็นกัปปิยการก หรือเป็นอารามิก
ของพระองค์ ดังนั้น ท่านจึงเรียกว่าเป็นยอดของสัตว์ 2 เท้า ด้วย
อำนาจเป็นผู้ประเสริฐกว่ามนุษย์และเทวดาแม้นั้นทีเดียว.

จบ อรรถกถาสูตรที่ 5

อรรถกถาสูตรที่ 6 เป็นต้น



ในสูตรที่ 6 เป็นต้นวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า เอกปุคฺคลสฺส ภิกฺขเว ปาตุภาวา มหโต จกฺขุสฺส
ปาตุภาโว โหติ
ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุใหญ่ย่อมปรากฏ
เพราะพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นบุคคลเอกปรากฏ.
เมื่อบุคคลนั้นปรากฏแล้ว แม้จักขุก็ย่อมปรากฏเหมือนกัน เพราะเว้น
บุคคลปรากฏเสีย จักขุก็ปรากฏไม่ได้. บทว่า ปาตุภาโว ได้แก่ การอุบัติ
คือ ความสำเร็จ. จักษุชนิดไหน ? จักษุคือปัญญา. เสมือนเช่นไร ? เสมือน
วิปัสสนาปัญญา ของพระสารีบุตรเถระ เสมือนสมาธิปัญญา ของ
พระมหาโมคคัลลานเถระ. แม้ในอาโลกะ (การเห็น) เป็นต้น ก็นัยนี้
เหมือนกัน. จริงอยู่ ในการมองเห็นเป็นต้นนี้ ท่านประสงค์เอาการ
มองเห็นเช่นการมองเห็นด้วยปัญญา และแสงสว่าง เช่นแสงสว่าง
แห่งปัญญาของพระอัครสาวกทั้งสอง. บทแม้ทั้ง 3 นี้ คือ แห่ง
ดวงตาอันใหญ่ แห่งการมองเห็นอันใหญ่ แห่งแสงสว่างอันใหญ่
พึงทราบว่า ตรัสเจือกันทั้งโลกิยะ และโลกุตตระ.

บทว่า ฉนฺนํ อนุตฺติยานํ ได้แก่ ธรรมอันสูงสุด 6 อย่าง
ที่ไม่มีธรรมอื่นยิ่งขึ้นไปกว่า ในคำนั้นมีอธิบายว่า อนุตตริยะ 6 เหล่านี้
คือ ทัสสนานุตตริยะ สวนานุตตริยะ ลาภานุตตริยะ สิกขานุตตริยะ
ปาริจริยานุตตริยะ อนุสสตานุตตริยะ. ความปรากฏเกิดขึ้นแห่ง
อนุตตริยะ 6 เหล่านี้ จึงมี.